เทคนิคง่าย ๆ คือ ให้เลือกช่วงเวลาป้อนอาหารใกล้กับเวลาที่ให้นมลูก แต่อย่าปล่อยให้หิวจัด อาจให้ลูกกินข้าวก่อนแล้วให้นมตาม
หรือ จะให้นมก่อนเล็กน้อยแล้วค่อยให้อาหารเสริมก็ได้ จะทำให้ลูกรู้ว่า อาหารนี้ก็กินได้นะ และช่วยให้หายหิวด้วย ที่สำคัญ ระหว่างป้อน ควรมีการสบตา ชวนพูดคุย ป้อนด้วยความนุ่มนวล คอยกระตุ้น ให้เด็กเคี้ยวอาหารเป็นครั้งคราว และควรใช้เวลาป้อนไม่เกิน 30 นาที หากนานกว่านั้นให้เก็บ เพื่อเป็นการสร้างพฤติกรรมการกินเป็นเวลา นอกจากนี้ควรจัดให้นั่งเก้าอี้ที่ปลอดภัยสำหรับเด็กโดยเฉพาะด้วยค่ะ
เทคนิคการให้อาหารเสริมแก่ลูกน้อย
- ควรเริ่มให้ทีละน้อย แล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมาณ ในวันแรกให้เริ่ม ป้อนเพียง 1 ช้อนโต๊ะ
- เวลากินข้าวแล้วฝืดคอ ใช้ช้อนตักน้ำป้อนหลังกินอาหาร แล้ว ตามด้วยนมจนอิ่ม
- ค่อย ๆ เพิ่มอาหารวันละ 1 ช้อนโต๊ะ อย่าเพิ่มเร็วเกินไป เพราะ กระเพาะอาหารยังทำงานไม่เต็มที่
- ถ้าลูกไม่อยากกิน ห้ามบังคับขู่เข็ญหรือบีบปากให้กิน ค่อยให้ ใหม่ในวันถัดไป แต่ไม่ควรปล่อยนานเกินไป เพราะลูกจะขาดสารอาหาร และทําให้เกิดพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะกับวัยได้
- ฝึกจนกระทั่งลูกกินได้ปริมาณ 5-7 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ ส่วนนมแม่ มื้อนั้นให้เลื่อนการกินออกไปอีก 1 – 2 ชั่วโมงหลังอาหาร
- กรณีที่ยังไม่รู้ว่าลูกแพ้อาหารหรือไม่ ควรให้กินมื้อเช้าหรือ กลางวัน เพราะหากป้อนมือเย็น ลูกอาจมีอาการผิดปกติตอนกลางคืนได้ แต่ถ้าลูกไม่มีอาการแพ้ อาจเปลี่ยนมาให้อาหารมื้อเย็นแทน จะช่วย ทําให้ลูกอิ่มนานและหลับได้ยาวขึ้น
- การเริ่มเนื้อสัตว์ชนิดใหม่ทุกครั้งควรเริ่มที่ละชนิด และให้กิน ซ้ำ 4 – 5 วัน เพื่อตรวจสอบอาการแพ้ เนื้อสัตว์ที่แนะนำ ได้แก่ ไก่ หมู ตับไก่ ตับหมู ไข่แดง ปลาน้ำจืด
- ไข่แดงต้องต้มให้สุกเต็มที่ ห้ามเป็นไข่มะตูมหรือไข่ลวก เพราะ เชื้อโรคไม่ถูกทำลาย อาจทำให้ถ่ายเป็นมูกเลือดได้
- ปริมาณเนื้อสัตว์ที่ใส่ต่ออาหาร 1 มื้อ มากสุดคือ 1 ช้อนโต๊ะ ไม่ควรมากกว่านี้ เพราะไตจะทำงานหนัก
- งดอาหารทะเล เนื่องจากทำให้แพ้ง่าย
- สำหรับผลไม้ให้จัดเป็นอาหารว่างอีก 1 มื้อ อาจบดละเอียด แล้วเติมน้ำลงไปด้วย ช่วยให้ไม่ฝืดคอและไม่หวานจนเกินไป
- ไม่ควรปรุงรสใดๆ นอกจากเติมเกลือไอโอดีนได้เล็กน้อยเพื่อ ไปให้ขาดสารอาหาร ช่วยป้องกันไม่ให้ลูกติดรสชาติเค็มหรือหวานได้