วิธีแก้ปัญหา
สําหรับตัวเอง เคยมีเหมือนกันที่ลูกอยากดูรายการทีวีในช่วง อย่างเช่น รายการเกมช่าต่างๆ ที่เด็กๆ มักจะโปรดปรานกัน เองก็โปรดอยู่ไม่น้อย เลยคิดว่าเอาน่านอนดึกขึ้นสักนิดคงจะไม่ แล้วเราก็ไม่ได้นอนเวลานี้กันทุกวันสักหน่อย แต่ที่ไหนได้ เด็กก็ยัง เด็กที่ร่างกายยังต้องการการพักผ่อนมากกว่าผู้ใหญ่
เด็กอาจจะยืน เองให้นอนดึกขึ้นได้ไม่ยาก เพราะมัวแต่ตื่นตาตื่นใจ แต่เป็นกา ที่จะให้เด็กฝืนตื่นขึ้นมาในตอนเช้า ขณะที่ร่างกายยังคงบอกกับตัวเอง ว่า “ยังนอนไม่พออยู่” ผลก็คือลูกก็จะงอแงและงัวเงียกันไปทั้งวัน
หลังจากการพยายามจัดเวลาเข้านอนให้ลูกด้วยวิธีต่างๆ ก็พบ ว่า ลูกมักจะนอนได้เมื่อเรา (ทําเหมือนกับว่า) จะนอนแล้วเหมือนกัน ด้วยการทําบรรยากาศภายในครอบครัวให้สงบ ปิดทีวี หรี่ไฟ คยเรื่อง สบายๆ หรือเล่านิทานด้วยเสียงเบาๆ เพียงเท่านี้ลูกที่เหนื่อยกับการ เรียนและเล่นมาทั้งวันก็จะหลับปุ๋ย
แต่มีข้อแม้ว่าหลังจากลูกหลับไปแล้วแม่ก็อย่าเผลออยู่ดึกเกินไป จะได้ตื่นเช้าขึ้นมาอย่างแจ่มใส มีเวลาเตรียมตัวเองให้พร้อมในตอน เข้า ทั้งแต่งหน้า แต่งตัว จัดการอาหารเช้า อย่างไม่ต้องเร่งรีบกระหืด กระหอบ จนอารมณ์เสียไม่ได้เริ่มต้นวันอย่างแจ่มใส
ส่วนรายการทีวีที่ลูกโปรดปรานทั้งหลาย ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะ แม่จะจัดการสรรหาบันทึกไว้ให้ลูกดูอย่างสบายใจในวันหยุดหรือในวัน ที่ไม่มีการบ้าน
เรามาจัดเรื่องนอนให้เป็นเวลากันดีกว่า ถ้าทั้งแม่และลูกนอนและ ตื่นได้อย่างเป็นเวลาแล้ว เราก็จะมีเวลาที่จะจัดการกับเรื่องอื่นๆ ได้เอง ข้อมูลจากเว็บไซต์ แนะถึงเวลานอนที่ เหมาะสมของเด็กๆ
- วัยแรกเกิด 1 – 4 สัปดาห์ 15 – 16 ชั่วโมง/วัน
- 1- 12 เดือน 14 – 15 ชั่วโมง/วัน
- 1 – 3 ขวบ 14 ชั่วโมง/วัน
- 3 – 6 ขวบ 10 – 12 ชั่วโมง/วัน
- 7 – 12 ขวบ 10 – 11 ชั่วโมง/วัน
- 12 – 18 ปี 8 – 9 ชั่วโมง/วัน
- ผู้ใหญ่ 6 – 8 ชั่วโมง/วัน