ปัญหาเด็กขาดสารอาหารเป็นปัญหาสุขภาพเด็กที่พบมากในประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ แค่ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลียพบว่า สุขภาพเด็กในชนบทที่ครอบครัวได้รับการสนับสนุนให้ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหารนั้น จะมีอัตราการเจริญเติบสมวัยได้ดีกว่า โดยนักวิจัยทำการศึกษากับครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลางและได้ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหารในครอบครัวตนเอง ซึ่งวิธีการนี้ช่วยป้องกันเด็กๆ ในครอบครัวดังกล่าวจากปัญหาสุขภาพเด็ก ได้แก่ การแคระแกร็น น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ และการเสียชีวิตในวัยเด็ก ทั้งนี้เพราะอาหารของเด็กๆ มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งหมายความว่าพวกเขาได้รับสารอาหารประเภทต่างๆ อย่างครบถ้วน

การขาดสารอาหารนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพเด็ก
การศึกษาถึงผลกระทบของการผลิตอาหารในครัวเรือนที่มีต่อภาวะตาบอดกลางคืน การแคระแกร็น การสูญเสียน้ำหนัก และอัตราการตายในเด็ก ได้แนะนำให้ครัวเรือนปลูกพืชเลี้ยงสัตว์โดยดำเนินการในหลายๆ ประเทศของแอฟริกาและเอเชีย ได้แก่ ไนจีเรีย กานา โมซัมบิก ยูกันดา เคนยาอินเดีย และกัมพูชา
ซึ่งการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ดังกล่าวรวมถึงการปลูกผลไม้และผักมีสีที่มีวิตามินเอ เช่น มันเทศ และในบางครอบครัวจะมีการเลี้ยงไก่ด้วย จากนั้นมีการติดตามสุขภาพเด็กในครอบครัวเหล่านี้ในปีต่อๆ มา ซึ่งพบว่าครอบครัวที่ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับการผลิตอาหารในบ้านของตนมีปัญหาสุขภาพเด็กน้อยกว่าเด็กของครอบครัวอื่นๆ พวกเขาแทบไม่มีโอกาสสูญเสียชีวิต แคระแกร็น และน้ำหนักตัวน้อยเลย

วิตามินเอกับปัญหาสุขภาพเด็ก
เซรอฟธาลเมียคือการอักเสบของตาส่งผลให้ตาบอด ส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอในเด็ก การเสริมวิตามินเอจะป้องกันปัญหาสุขภาพเด็กนี้ได้ โดยร่วมกับการส่งเสริมสุขภาพเด็กด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การลดความเสี่ยงจากโรคหัด หลายประเทศดำเนินโครงการเสริมวิตามินเอสำหรับเด็ก แต่มักไม่ครอบคลุมถึงเด็กที่อยู่ในพื้นที่ชนบท องค์การอนามัยโลกให้ข้อมูลว่า มีเด็กก่อนวัยเรียนประมาณ 250 ล้านคนที่ยังขาดวิตามินเอ

ปัญหาสุขภาพเด็กของการขาดวิตามินเอเป็นตัวการบองภาวะตาบอดในวัยเด็ก โดยมีเด็กก่อนวัยเรียนประมาณ 2.8 ล้านคนที่เสี่ยงต่อการตาบอด นอกจากนั้นการขาดวิตามินเอในวัยเด็กยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคอื่นๆ เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคหัดและปัญหาสุขภาพเด็กของการขาดวิตามินเอที่สำคัญอีกอย่างคือ การทำงานของภูมิคุ้มกันผิดปกติ
ถึงแม้จะยังไม่มีหลักฐานเพียงพอเกี่ยวกับการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ที่บ้านจะส่งผลปัญหาสุขภาพเด็กอย่างภาวะเซรอฟธาลเมีย ตาบอดกลางคืน หรือการเสียชีวิตในเด็ก แต่หลักฐานจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าหากการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ที่บ้านความเสี่ยงต่อการแคระแกร็น การเสียชีวิต และน้ำหนักตัวน้อยในเด็กจะลดลง ทั้งนี้การทำผลิตอาหารที่บ้านอาจช่วยให้เกิดความยั่งยืนในการควบคุมการขาดวิตามินเอ และสามารถเพิ่มเติมโปรแกรมเสริมวิตามินเอได้หากมีให้บริการ
#อาหาร #สุขภาพเด็ก #แม่บ้านยุคใหม่