สอนเด็กพิเศษอย่างไรไม่ให้รู้สึกโดดเดี่ยว

สอนเด็กพิเศษอย่างไรไม่ให้รู้สึกโดดเดี่ยว
Facebook
Twitter

การสอนเด็กพิเศษในโรงเรียนของคนปกติเป็นสิ่งที่เหมือนจะทำได้ง่าย ๆ แต่แท้จริงแล้วแสนยากกว่าที่คุณคิดแน่นอนว่าการสอนเขาให้รู้เรื่องแบบตัวต่อตัวบางช่วงที่จัดให้อาจทำได้ไม่ยาก แต่แน่นอนว่าสิ่งที่หลายคนมองข้ามก็คือ “การอยู่ร่วมกันในสังคม” เพราะเมื่อเด็กพิเศษที่มีความผิดปกติของอารมณ์ จิตใจ

และร่างกายต้องมาอยู่ร่วมกับเด็กทั่วไปในโรงเรียนมักจะทำให้พวกเขาเกิดความรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นแกะดำแตกต่างจากเพื่อนคนอื่นและโดดเดี่ยวในสังคมโรงเรียนที่กว้างใหญ่ คุณซึ่งเป็นครูของเด็กพิเศษจึงมีบทบาทสำคัญในการสอนให้เด็กพิเศษมีความสุขและไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป

จัดกิจกรรมการสอนที่ให้เด็กพิเศษมีส่วนร่วมกับเด็กปกติได้

คุณครูควรมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมการสอนที่ไม่ใช่แค่การนั่งฟังแต่เน้นให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนโดยจัดให้ทำกิจกรรมย่อยในบทเรียนต่าง ๆ แบบแบ่งกลุ่มให้เด็กพิเศษได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ ช่วยคิดช่วยทำได้เท่าที่ศักยภาพของตัวเองมี หรือหากเขาไม่กล้าแสดงออก ไม่รู้วิธีคิดหรือทำอะไรใด ๆ

คุณครูก็อาจเข้าไปควบคุมดูแลคอยบอกเด็กพิเศษถึงวิธีการคิดแบบใกล้ชิดเพื่อให้เขารู้ว่า “เสียงของเด็กพิเศษเป็นอีกเสียงหนึ่งที่สำคัญของงานกลุ่ม” เขาจะได้จัดเรียงความคิดของตัวเองแบบมุ่งเน้นจุดนั้น ๆ ถูกและกล้าพูดออกไปเพื่อให้ตัวเองมีส่วนร่วมและสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ที่เป็นเด็กปกติได้โดยไม่รู้สึกโดดเดี่ยว

คอยสอนเด็กปกติให้รักเพื่อนฝูงแม้ว่าคนนั้นจะเป็นเด็กพิเศษ

ปัญหาในโรงเรียนที่หลายสถาบันมักพบบ่อย คือ การบูลลี่เด็กพิเศษที่มีความแตกต่างจากเด็กปกติ เพียงเพราะแค่บางคนมีหน้าตาไม่เหมือนคนอื่น มีความคิด การกระทำ วิธีการพูดที่ไม่เหมือนคนอื่นจากความผิดปกติของร่างกายเขาก็เท่านั้น ซึ่งโรงเรียนมักจะมองข้ามคนกลุ่มน้อยเหล่านี้และเน้นแต่เด็กนักเรียนที่มีผลการเรียนดีเป็นหน้าเป็นตาให้ตัวเองที่สุด ทั้งที่ “เด็กพิเศษ”

เป็นบุคคลสำคัญที่สุดที่ทางโรงเรียนควรมองถึงประเด็นหลักที่ต้องดูแลพวกเขาเพื่อไม่ให้เกิดความแตกต่างของการเรียนที่มุ่งเน้นความเท่าเทียมและไม่แบ่งแยกกันเพื่อรองรับคนทุกประเภททุกชนชั้น อย่างน้อยครูก็ต้องคอยบอกและอบรมบ่มนิสัยเด็กนักเรียนของตัวเองให้รักเพื่อนแม้ว่าเขาจะเป็นเด็กพิเศษ มีอะไรก็คอยช่วยเหลือ ทำให้เขารู้ว่าเหตุใดเด็กพิเศษจึงมีความแตกต่าง เพื่อทำให้เด็กพิเศษไม่รู้สึกโดดเดี่ยวและอยู่ท่ามกลางการรายล้อมของเพื่อน ๆ ที่รักเขาตลอดเวลา เวลาเรียนก็มุ่งให้ช่วยเหลือเพื่อนที่เป็นเด็กพิเศษด้วย

ใช้บรรยากาศในห้องและสื่อการเรียนรู้ที่ทำให้เด็กพิเศษเกิดความสนใจ

ในการสอนเด็กพิเศษนั้น คุณครูต้องมีการจัดห้องเรียนให้เป็นโทนสดใส มีสิ่งที่หลากหลายในการตกแต่งห้องเรียนไม่ว่าจะเป็นป้ายนิเทศลักษณะพิเศษมากกว่าจะมีเพียงตัวอักษรเน้น ๆ และฉากตกแต่งเล็ก ๆ เท่านั้น บนเพดานมีการห้อยกระดาษสีรูปทรงต่าง ๆ ห้องเรียนสะอาด นักเรียนและครูอาจร่วมกันช่วยวางแผนจัดตกแต่งห้องเรียนใหม่ในทุก 2 เดือนเพื่อเปลี่ยนบรรยายให้หลากหลาย น่าเรียน เด็กพิเศษก็จะได้มีส่วนร่วมประดิษฐ์สิ่งของที่เขาชอบมาเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียน และสื่อการเรียนที่ครูสร้างก็ยังต้องมีความแปลกใหม่ด้วย ยิ่งมีลูกเล่นในการสอนก็ยิ่งดี เด็กพิเศษจะชอบมาก

รูปภาพประกอบ : Pixabay

#สอนเด็กพิเศษ #ไลฟ์สไตล์ของแม่บ้าน #แม่บ้านยุคใหม่

More to explorer

รู้จักการเลี้ยงดูแบบไข่ในหิน

รู้จักการเลี้ยงดูแบบไข่ในหิน

หลายคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า “เลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน” มาแล้วซึ่งความหมายนี้มีทั้งมุมมองที่ดีและไม่ดีเท่ากัน การเลี้ยงลูกควรจะมีระดับที่เหมาะสม ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไปเพราะจะส่งผลต่อจิตใจและการใช้ชีวิตของเด็กเมื่อเติบโตขึ้นโดยตรง

How to วิธีขจัดคราบชากาแฟติดในแก้ว ให้กลับมาใสสะอาดอีกครั้ง

How to วิธีขจัดคราบชากาแฟติดในแก้ว ให้กลับมาใสสะอาดอีกครั้ง

สำหรับใครที่ชื่นชอบการดื่มชาหรือกาแฟจะรู้ดีว่าจะมีคราบสีน้ำตาลติดอยู่ที่แก้วแบบฝังแน่นอยู่เสมอ ไม่ว่าจะขัดล้างยังไงก็ออกยาก มาดู วิธีขจัดคราบชากาแฟติดในแก้ว ด้วยของที่ต้องมีครัวใกล้ตัวภายในบ้านกันดีกว่าว่ามีอะไร

พ่อแม่รู้หรือไม่-ต้องเสริมสารอาหารให้กับเด็กมังสวิรัติ-

พ่อแม่รู้หรือไม่ ต้องเสริมสารอาหารให้กับเด็กมังสวิรัติ 

แต่ละครอบครัวนั้นก็มีรูปแบบการรับประทานอาหารที่แตกต่างกันออกไป บางบ้านก็รับประทานอาหารกันได้ทุกแบบ ในขณะที่หลายบ้านนั้นก็รับประทานอาหารแบบมังสวิรัติ แม้ว่าการรับประทานมังสวิรัตินั้นจะช่วยให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่และยังลดโอกาสในการเกิดโรคบางอย่างได้ด้วย อย่างไรก็ตามสำหรับครอบครัวที่รับประทานอาหารแบบมังสวิรัตินั้นหากมีเด็กเล็กอยู่ในครอบครัวด้วยจำเป็นจะต้องเสริมสารอาหารให้กับพวกเขาเพื่อให้เด็กมังสวิรัติมีร่างกายที่แข็งแรงและสุขภาพดี