วิธีฝึกเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาด้านการสื่อสารล่าช้า

Facebook
Twitter

เด็กปฐมวัยอยู่ในวัยที่สมองกำลังเจริญเติบโตอย่างเต็มที่และมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ เป็นไปตามลำดับขั้นตอนแบบธรรมชาติ หากเด็กได้รับการส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ให้มีศักยภาพมากขึ้นก็จะทำให้ทักษะในด้านนั้น ๆ แสดงออกมาตามวัยที่เหมาะสม เพราะเมื่อมีพื้นฐานติดตัวอยู่แล้วไม่ว่าอย่างไรก็ต้องมีคนช่วย หากไม่มีคนช่วยก็จะทำให้ทักษะด้านนั้นไม่ได้รับการส่งเสริมมากเท่าที่ควรจะเป็นจนสุดท้ายก็เกิดปัญหาขึ้นมาได้

เช่นเดียวกับทักษะการสื่อสารในเด็กปฐมวัยที่หากไม่ได้รับการส่งเสริม ปล่อยปะละเลยจากผู้เลี้ยงดูก็จะทำให้เด็กปฐมวัยไม่สามารถสื่อสารกับคนอื่นรู้เรื่อง แม้แต่จะฟังอีกฝ่ายพูดก็ยังไม่เข้าใจความหมาย แม้จะอายุ 4 – 5 ขวบแล้วก็ตาม ซึ่งนั่นก็คือ “ปัญหาด้านการสื่อสารล่าช้า” นั่นเอง แล้วแบบนั้นคุณพ่อคุณแม่และผู้สอนจะฝึกเด็กปฐมวัยให้มีทักษะการสื่อสารเพิ่มมากขึ้นได้อย่างไรบ้างล่ะ?

ฝึกเด็กปฐมวัยให้สื่อสารสนทนาถาม – ตอบเป็นประจำ

เด็กปฐมวัยที่มีทักษะการสื่อสารล่าช้าจะไม่สามารถพูดออกมาเป็นประโยคสมบูรณ์ได้ แต่จะสื่อสารออกมาได้เพียงคำสั้น ๆ และอาจไม่ชัดเจน บางรายก็ไม่สื่อสารโต้ตอบกลับด้วยคำซ้ำ ๆ เดิม ๆ ที่ติดปากตัวเองหรือพูดในเชิงทวนคำถามอีกฝ่ายแทน เราจึงควรฝึกเด็กปฐมวัยให้รู้จักการสร้างประโยคและเข้าใจความหมายของคำถามและตอบอย่างถูกต้องโดยฝึกสนทนาถาม – ตอบเป็นประจำจนเด็กเกิดความคุ้นเคย

ฝึกเด็กปฐมวัยให้แสดงนิทานกับผู้อื่น

การแสดงนิทานร่วมกับเพื่อนหรือผู้เลี้ยงดูนอกจากจะทำให้เด็กเกิดความกล้าแสดงออกทางอารมณ์และจิตใจแล้ว ยังทำให้เด็กรู้จักสื่อสารโต้ตอบกับผู้อื่นอย่างถูกวิธีผ่านการสวมบทบาทและคำพูดผ่านตัวละครต่าง ๆ ในนิทานด้วย เรียกได้ว่าเป็นการซึมซับที่ทำให้เกิดความรู้ทางสติปัญญาและการจดจำนั่นเอง ยิ่งเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงบทบาทต่าง ๆ ที่มีหลากหลายอารมณ์และหลากหลายบุคลิกนิสัยมากแค่ไหนก็ยิ่งทำให้เด็กได้เรียนรู้น้ำเสียงการพูด การโต้ตอบในสถานการณ์ที่เหมาะสม และรูปแบบประโยคมากขึ้นอีกด้วย

ฝึกเด็กปฐมวัยให้ทำความเข้าใจในสิ่งของ สถานที่ บุคคล

เด็กปฐมวัยที่มีปัญหาทักษะด้านการสื่อสารล่าช้าส่วนใหญ่จะจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้เหมือนเด็กทั่วไป แต่แค่ไม่เข้าใจวิธีการเรียกและบรรยายรายละเอียดสิ่งนั้น ๆ เราจึงควรฝึกให้เด็กได้อยู่ใกล้ชิดสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของรอบตัว สถานที่ และบุคคลต่าง ๆ พร้อมฝึกให้เด็กเรียกชื่อสิ่งนั้น ๆ ตามทุกครั้งและอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดจนในที่สุดเด็กก็จะเริ่มรู้จักคำเรียกสิ่งต่าง ๆ มากขึ้นและเริ่มเล่าสิ่งต่าง ๆ ให้คนอื่นฟังได้เมื่อถาม

รูปภาพประกอบ : Pixabay

#ไลฟ์สไตล์ของแม่บ้าน #แม่บ้านยุคใหม่ #เด็กปฐมวัยที่มีปัญหาด้านการสื่อสารล่าช้า

More to explorer

รู้จักการเลี้ยงดูแบบไข่ในหิน

รู้จักการเลี้ยงดูแบบไข่ในหิน

หลายคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า “เลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน” มาแล้วซึ่งความหมายนี้มีทั้งมุมมองที่ดีและไม่ดีเท่ากัน การเลี้ยงลูกควรจะมีระดับที่เหมาะสม ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไปเพราะจะส่งผลต่อจิตใจและการใช้ชีวิตของเด็กเมื่อเติบโตขึ้นโดยตรง

How to วิธีขจัดคราบชากาแฟติดในแก้ว ให้กลับมาใสสะอาดอีกครั้ง

How to วิธีขจัดคราบชากาแฟติดในแก้ว ให้กลับมาใสสะอาดอีกครั้ง

สำหรับใครที่ชื่นชอบการดื่มชาหรือกาแฟจะรู้ดีว่าจะมีคราบสีน้ำตาลติดอยู่ที่แก้วแบบฝังแน่นอยู่เสมอ ไม่ว่าจะขัดล้างยังไงก็ออกยาก มาดู วิธีขจัดคราบชากาแฟติดในแก้ว ด้วยของที่ต้องมีครัวใกล้ตัวภายในบ้านกันดีกว่าว่ามีอะไร

พ่อแม่รู้หรือไม่-ต้องเสริมสารอาหารให้กับเด็กมังสวิรัติ-

พ่อแม่รู้หรือไม่ ต้องเสริมสารอาหารให้กับเด็กมังสวิรัติ 

แต่ละครอบครัวนั้นก็มีรูปแบบการรับประทานอาหารที่แตกต่างกันออกไป บางบ้านก็รับประทานอาหารกันได้ทุกแบบ ในขณะที่หลายบ้านนั้นก็รับประทานอาหารแบบมังสวิรัติ แม้ว่าการรับประทานมังสวิรัตินั้นจะช่วยให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่และยังลดโอกาสในการเกิดโรคบางอย่างได้ด้วย อย่างไรก็ตามสำหรับครอบครัวที่รับประทานอาหารแบบมังสวิรัตินั้นหากมีเด็กเล็กอยู่ในครอบครัวด้วยจำเป็นจะต้องเสริมสารอาหารให้กับพวกเขาเพื่อให้เด็กมังสวิรัติมีร่างกายที่แข็งแรงและสุขภาพดี