เชื่อว่าเวลานี้คุณพ่อคุณแม่คงกำลังประสบปัญหากับการที่ลูกน้อยที่เพิ่งหัดใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารมักจะหกเลอะเทอะตามโต๊ะอาหารหรือบนพื้นทำให้ต้องทำความสะอาดห้องครัวกันจนยุ่งเป็นพัลวันในทุกมื้อ แต่อย่าลืมว่าคุณเองก็สามารถหัดให้ลูกรับประทานอาหารได้อย่างราบรื่น
โดยไม่หกเลอะเทอะให้เหนื่อย หากรู้วิธีฝึกก็จะทำให้ลูกของคุณสามารถเรียนรู้การจับช้อนส้อมได้ในขณะที่กล้ามเนื้อมือของเด็กปฐมวัยยังใช้งานได้ไม่ดีนัก จะมีวิธีอะไรกันบ้างเราตามไปดูกันเถอะ

ฝึกลูกไม่ให้รับประทานอาหารหกเลอะเทอะโดยการจับช้อนส้อมให้ถูกวิธี
พ่อแม่หลายคนมักจะสอนลูกให้ตักอาหารด้วยตัวเองเป็นโดยที่ไม่สอนลูกน้อยจับช้อนส้อมให้ถูกวิธีเสียก่อน แม้เด็กปฐมวัยที่เรียนรู้ผ่านการมองสมาชิกในครอบครัวรับประทานอาหาร แต่ด้วยกล้ามเนื้อมือที่ยังไม่แข็งแรงทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมนิ้วหรือฝ่ามือตัวเองได้จึงทำได้เพียงกำช้อนส้อมไว้จนเต็มฝ่ามือและตักอาหารเพื่อให้เข้ามาอยู่ในปากตัวเอง
ซึ่งจะทำให้เด็กรับประทานอาหารจนหกเลอะเทอะในที่สุด ด้วยเหตุนี้คุณพ่อคุณแม่จึงควรสอนเด็กจับช้อนส้อมโดยการค่อย ๆ ให้เด็กใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้จับปลายอย่างถูกต้องก่อนจะจับมือเพื่อให้เรียนรู้การตักอาหารไปด้วยกันในระยะแรกจนเด็กเริ่มเกิดความคุ้นชินสามารถตักเองได้

ฝึกลูกไม่ให้รับประทานอาหารหกเลอะเทอะโดยใช้เสื่อน้ำมัน
แม้ลูกองคุณจะเรียนรู้วิธีการตักอาหารและการจับช้อนได้ด้วยตัวเองอย่างถูกวิธีแล้ว แต่อย่าลืมว่าด้วยวัยของเขายังคงใช้กล้ามเนื้อมือของตัวเองได้ไม่แข็งแรงพอ อีกทั้งมักจะติดการใจเร็วด่วนได้ อาหารจึงสามารถหกเลอะเทอะได้ตลอด คุณพ่อแม่จึงควรมีการปูเสื่อน้ำมันบนโต๊ะอาหารเพื่อการทำความสะอาดที่ง่ายและให้เด็กเห็นชัดเจนว่าการทำให้อาหารหกลงบนพื้นที่สีนั้น ๆ หรือก็คือเสื่อที่ปูเป็นสิ่งที่เราต้องหลีกเลี่ยง ควรค่อย ๆ ตักอาหารให้ช้า พอเด็กปฐมวัยรู้ก็จะทำตามคำแนะนำจนระยะหลังก็ไม่รับประทานอาหารหกเลอะเทอะบนเสื่อน้ำมันอีก

ฝึกลูกไม่ให้รับประทานอาหารหกเลอะเทอะโดยใช้จานรอง
หลังผ่านพ้นการรับประทานอาหารไม่ให้หกเลอะเทอะบนเสื่อน้ำมันไปได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถประเมินได้ว่าเด็กจะมีโอกาสสูงในการรับประทานอาหารได้ด้วยตัวเองโดยไม่หกเลอะเทอะโต๊ะซึ่งไร้เสื่อน้ำมันอีก แต่บทเรียนและการทดสอบสุดท้ายก็คือการที่เด็กรับประทานอาหารโดยไม่ให้หกเลอะบริเวณจานข้าวส่วนตัวในขณะนำอาหารเข้าปาก การใช้จานรองจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสม เพราะเมื่อเด็กรับประทานอาหารหกก็จะไปติดบนจานรองซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถให้เด็กดูผลการรับประทานอาหารของตัวเองได้จนรู้และเด็กก็จะค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนวิธีการนำอาหารเข้าปากให้ดีขึ้นจนไม่ต้องใช้ตัวช่วยในการสอนอีกต่อไป
เมื่อเด็กสามารถรับประทานอาหารเองได้โดยไม่หกเลอะเทอะตามที่คุณสอนแล้วก็จะต้องมีการคอยดูด้วยว่าเขาจะกลับไปใช้นิสัยความเคยชินในการรับประทานอาหารอย่างรวดเร็วอีกหรือไม่ หากเด็กรับประทานอาหารเร็วก็ต้องคอยบอกเพราะพฤติกรรมนี้อาจทำให้เด็กรับประทานอาหารหกเลอะเทอะได้อีกครั้ง
รูปภาพประกอบ : Pixabay
#วิธีฝึกลูกไม่ให้รับประทานอาหารหก #ไลฟ์สไตล์ของแม่บ้าน #แม่บ้านยุคใหม่