ในช่วงวัยเด็กถือว่าเป็นวัยที่มีความเสี่ยงหลายๆอย่าง เช่น ความเสี่ยงที่เกิดจากการเจ็บป่วย ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนมีความกังวลอย่างมาก เพราะเด็กไม่สามารถสื่อสารหรือบอกถึงอาการต่างๆได้ เพราะฉะนั้นผู้เป็นพ่อและแม่จะต้องคอยดูแลเอาใจใส่ หมั่นสังเกตอาการของลูกอยู่เสมอ ว่ามีความแปลกหรือเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่อย่างไร และอีกหนึ่งสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรจะต้องคำนึงถึงก็คือ หมอประจำตัวลูก ที่ควรจะต้องเลือกให้ดี เพราะคุณหมอจะได้ดูแลและรักษาลูกเราอย่างดีที่สุด ไปดูกันซิว่าจะมีวิธีเลือกหมอประจำตัวลูกอย่างไรให้ได้คุณหมอที่โดนใจ

วิธีเลือกหมอประจำตัวลูกอย่างไรให้ได้คุณหมอที่โดนใจ
- ควรเลือกหมอประจำตัวลูกที่อยู่โรงพยาบาลใกล้บ้าน แน่นอนว่าในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ลูกป่วย สิ่งที่พ่อแม่ต้องการมากที่สุดเลยก็คือ อยากให้ลูกถึงมือคุณหมอโดยเร็วที่สุด เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะฉะนั้นทางที่ดีควรเลือกหมอประจำตัวลูกที่อยู่ในโรงพยาบาลใกล้บ้านที่คุณคิดว่าไปถึงเร็วที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในจังหวัดที่มีรถติดจำนวนมาก ข้อนี้สำคัญที่สุดเลยทีเดียว
- เตรียมคำถามเพื่อสอบถามคุณหมอ คุณอย่าเลือกหมอประจำตัวลูกโดยที่ยังไม่ได้พูดคุยกับคุณหมอ เพื่อดูท่าทาง อาการ นิสัย เด็ดขาด เพราะบางครั้งคุณหมอบางคนอาจจะมีนิสัยหรือวิธีการรักษาที่ไม่ตรงใจคุณพ่อคุณแม่ ทางที่ดีควรพบเจอพูดคุยสอบถามในสิ่งที่คุณแม่สงสัยเสียก่อนและสังเกตดูการตอบคำถาม อารมณ์ หรือ นิสัยของคุณหมอว่าถูกใจคุณแม่หรือไม่แล้วค่อยเลือก

- อย่ามองข้ามประกันภัย ส่วนใหญ่แล้วพ่อแม่จะต้องทำประกันภัยด้านสุขภาพหรือด้านอื่นๆให้กับลูกอยู่แล้ว ก่อนอื่นเลยควรจะต้องตรวจสอบก่อนว่าโรงพยาบาลที่คุณจะไปนั้นอยู่ในเครือข่ายของบริษัทประกันที่คุณทำหรือไม่ หากมีการตรวจสอบแล้วอยู่ในเครือข่ายก็เดินหน้าเลือกหมอประจำตัวลูกได้เลยจ้า
- เพศของคุณหมอก็สำคัญ ทางที่ดีควรเลือกคุณหมอที่มีเพศเดียวกับลูกจะดีที่สุด เพราะถ้าหากในอนาคตลูกโตขึ้นและต้องเข้ารับการรักษาจะได้ไม่อาย อีกอย่างคุณหมอจะเข้าใจในสรีระร่างกายของเพศตัวเองดีที่สุดอีกด้วย

เป็นอย่างไรกันบ้างกับวิธีการเลือกหมอประจำตัวลูกอย่างไรให้ได้คุณหมอที่โดนใจ หากได้คุณหมอที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้ากันได้กับเด็กและคุณพ่อคุณแม่ จะช่วยทำให้คุณพ่อคุณแม่มีความสบายใจมากยิ่งขึ้นเมื่อลุกเจ็บป่วย ลองเอาวิธีการข้างต้นที่เรานำมาฝากกันไปลองใช้กันดูได้เลย
#เลือกหมอประจำตัวลูก #ไลฟ์สไตล์ของแม่บ้าน #แม่บ้านยุคใหม่