เด็กที่เคยได้รับความอบอุ่นจากพ่อแม่หรือคนในครอบครัวเต็มที่คนเดียวมาตั้งแต่เกิดมักจะขาดความอบอุ่นและที่พึ่งพิงจากคนใกล้ชิดไม่ได้ โดยเฉพาะกับเด็กปฐมวัยที่ชีวิตของเขาส่วนใหญ่จะอยู่แต่กับครอบครัวภายในบ้านไม่ได้ออกไปไหน สำหรับบางคนครอบครัวจึงเป็นทั้งผู้ใหญ่และเพื่อนด้วย แต่จะทำอย่างไรหากวันหนึ่งคุณเกิดมีลูกอีกคนที่จะเข้ามาอยู่ในฐานะสมาชิกใหม่ด้วยความสัมพันธ์แบบน้องของเขาเองซึ่งอาจจะทำให้เด็กปฐมวัยเกิดอิจฉาน้องได้ เพราะเหมือนว่าอีกฝ่ายจะมาแบ่งเอาความรักที่เขาได้รับเพียงคนเดียวมาตลอดไปสู่ตัวเองทำให้เด็กปฐมวัยได้ความรักน้อยลงจากเดิม แล้วอย่างนี้จะทำเช่นไรดีเพื่อไม่ให้เขาอิจฉาน้องตัวเอง หากปล่อยไว้ก็คงจะเกิดปัญหาระหว่างเด็กสองคนในอนาคตแน่ซึ่งมันไม่ควรจะเกิดขึ้นเลย วันนี้เราจึงจะมาแนะนำวิธีดี ๆ แก่คุณ

ทำให้ลูกไม่อิจฉาน้องโดยให้เขามีส่วนร่วมในการเลี้ยงน้องด้วย
แม้ว่าเด็กปฐมวัยจะยังไม่โตพอจะรัยภาระที่มากไปกว่าเรื่องของตัวเอง แต่ที่จริงแล้วหากปลูกฝังดี ๆ คุณซึ่งเป็นพ่อแม่ก็สามารถทำให้เด็กรู้จักแบ่งเบาภาระหน้าที่ตัวเองได้และการเลี้ยงน้องที่เพิ่งเกิดก็เป็นอีกภาระหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้ภาระอื่นในบ้าน คุณอาจให้ลูกของคุณคอยดูแลน้องอยู่ห่าง ๆ สังเกตว่าน้องร้องงอแงเพราะอะไรหรือเกิดอะไรขึ้นระหว่างที่คุณกำลังยุ่ง และบอกวิธีปลอบโยนน้อง นอกจากจะทำให้เด็กได้ฝึกทำหน้าที่ของพี่ที่ดีแล้ว ยังจะช่วยให้เขาไม่อิจฉาน้อง รู้คุณค่าของการเลี้ยงน้องได้

ทำให้ลูกไม่อิจฉาน้องโดยให้ความสำคัญกับเขาไม่ลดลงจากเมื่อก่อน
พ่อแม่ที่มีลูกใหม่มาเพิ่มอีกคนมักจะให้ความสนใจกับเขามากจนอาจมองข้ามลูกคนก่อนไปได้ ซึ่งแม้ว่าตัวเองจะบอกกับลูกว่าที่ตัวเองยังสนใจและรักเขาอยู่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่เพราะน้องยังเล็กจึงต้องดูแลเขาให้มากเพราะอีกฝ่ายไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ถึงอย่างไรทิศทางของคำตอบมันก็ยังคงเอนเอียงไปที่คุณต้องให้ความสนใจกับเด็กที่เกิดใหม่มากกว่าลูกอีกคนอยู่ดีซึ่งอาจทำให้เขาขาดความอบอุ่นและอิจฉาน้องได้ คุณจึงควรให้ความสำคัญกับเขาไม่ลดลงจากเมื่อก่อน แม้จะมีภาระหนักอย่างการเลี้ยงลูกที่เกิดใหม่ เพราะวัยของลูกคนก่อนซึ่งยังคงเป็นเด็กปฐมวัยยังไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณต้องการสื่อผ่านคำพูดได้ การทำให้เขารู้ว่าคุณยังห่วงใยเหมือนเดิมจึงเป็นหนึ่งในภาระสำคัญที่คุณต้องทำ

ทำให้ลูกไม่อิจฉาน้องโดยบอกเขาไว้แต่เนิ่น ๆ ถึงความจำเป็นในการที่ต้องดูแลน้อง
คุณควรจะทำให้ลูกไม่อิจฉาน้องเมื่ออีกฝ่ายเกิดออกมา โดยการบอกเปรยกับเขาไว้แต่เนิ่น ๆ ถึงสิ่งที่คุณต้องทำสำหรับการเลี้ยงดูเขาว่าหลังจากคลอด คุณพ่อคุณแม่อาจต้องใช้เวลาในการเลี้ยงน้องมากหน่อยเพราะน้องยังเป็นเด็กทารกไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองหรือสื่อสารรู้เรื่อง อาจเป็นอันตรายได้หากปล่อยละเลยน้องเขา ซึ่งก็เหมือนกับเขาตอนเด็ก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความสำคัญในการเลี้ยงดูเช่นกันกว่าจะสามารถเป็นเด็กที่เก่งได้อย่างทุกวันนี้ แถมกำลังจะเป็นพี่ด้วย เขาเองก็ต้องมีหน้าที่เข้มแข็งและกล้าหาญเพื่อปกป้องน้องเช่นกัน ค่อย ๆ บอกเขาไป บางทีอาจทำให้เขาอยากเห็นหน้าน้องตัวเองไว ๆ ด้วยซ้ำ
รูปภาพประกอบ : Pixabay
#ไลฟ์สไตล์ของแม่บ้าน #แม่บ้านยุคใหม่ #ทำอย่างไรไม่ให้ลูกอิจฉาน้อง