ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เมื่อเห็นว่าลูกที่อยู่ในช่วงปฐมวัยมักจะชอบเล่นซน เสียงดัง หรือร้องไห้ก็มักจะชอบพูดคำว่า “เงียบ” ไม่ว่าจะเป็นการบอกโดยออกคำสั่งหรือบอกแบบปลอบประโลมก็ตาม แต่หากเป้าหมายของคุณนั่นคือการให้เด็กเงียบก็ย่อมไม่ส่งผลดีต่อตัวเด็กแน่นอน คุณรู้หรือไม่ว่าการที่คุณให้เขาเงียบจะเป็นการไปขัดขวางพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมของเด็กปฐมวัยตามวัยแห่งธรรมชาติเหมือนที่เขาควรจะเป็นเป็นอย่างมากจนทำให้เกิดผลเสียตามมา ดังต่อไปนี้

เด็กจะเติบโตมากลายเป็นคนขี้เกรงใจ
การที่เด็กปฐมวัยถูกเลี้ยงมาแบบคุมเข้มให้ต้องเงียบและทำตัวเรียบร้อยตลอดเวลาจะทำให้เด็กรู้สึกว่าการที่ตัวเองแสดงธรรมชาติและนิสัยออกมาจะไปกระทบต่อจิตใจหรืออาจแสดงความเสียมารยาทแก่ผู้ใหญ่โดยไม่รู้ตัวได้ เพราะตลอดเวลาที่ตัวเองมักซนตามวัยพ่อแม่ก็มักจะชอบมาขัดขวางหาว่าเด็กซนอย่างนู้นอย่างนี้ซึ่งเมื่อเด็กโตไปก็จะกลายเป็นคนขี้เกรงใจไปโดยปริยาย เอาแต่นึกถึงจิตใจผู้อื่นจนออกจากเกินตัวทำให้ตนไม่มีความสุขในการใช้ชีวิตเลย

เด็กจะมีโลกส่วนตัวสูง
เด็กปฐมวัยที่ถูกขัดขวางพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมโดยให้เงียบบ่อยครั้ง ๆ มักจะก่อให้เกิดความกดดันและเมื่อมันมีความมากขึ้นจนกลายเป็นชาชินก็จะกลายเป็นว่าสร้างนิสัยโลกส่วนตัวสูงให้แก่เด็กไปเลย เพราะเด็กที่มักถูกสั่งให้เงียบจะกลัวพ่อแม่และไม่ชอบไปเล่นกับคนอื่นเพราะเวลาไปก็มักจะเล่นได้ไม่เต็มที่ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ดูจะขัดใจผู้ใหญ่ไปเสียหมดจึงไม่อยากที่จะทำอะไรแล้ว นอกจากการอยู่ในโลกของตัวเองคนเดียวแบบเงียบ ๆ โดยไม่มีใครมารุกรานและไม่ต้องมีใครสั่งด้วย แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อเด็กมีโลกส่วนตัวสูงก็จะกลายเป็นคนขี้เหงาขึ้นมาได้

เด็กจะไม่กล้าแสดงออก
การที่เด็กเอาแต่เงียบไม่พูดไม่จาหรือคิดจะเล่นกับคนอื่น ๆ เพราะกลัวเสียงดัง กลัวจะถูกผู้ใหญ่ตำหนิ และกลัวพ่อแม่จะไม่รัก ความกลัวมากมายเหล่านี้จะทำให้เด็กกลายเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงออกไม่ว่าจะเป็นในเรื่องที่สมควรหรือไม่สมควรซึ่งการไม่กล้าแสดงออกนี้จะติดตัวเด็กไปได้จนโตทำให้เขาไม่กล้าพูดหรือกล้าทำอะไรออกไป อารมณ์และจิตใจก็จะมีพัฒนาการที่ต่ำลงอยู่ในจุดวิกฤตและทำให้เข้าสังคมกับผู้อื่นยากลำบากมากขึ้นด้วยจากการที่ไม่กล้าพูดกับเขาก่อนนั่นล่ะ
เราเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่คงไม่อยากจะให้ลูก ๆ ของคุณต้องได้รับผลเสียจากการเงียบเช่นนี้ ฉะนั้นคุณจึงควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของเด็กในการที่จะปล่อยให้เขาได้ทำอะไรตามใจของตัวเอง เพียงแต่หากมันมากเกินไปในบางกรณีก็ควรจะบอกให้เขาลดเสียงลงหน่อย ด้วยเหตุผลอะไรก็บอกไปตามตรงเพื่อที่เขาจะได้รู้และนำไปปรับใช้ได้ แทนการพูดสั้น ๆ ว่า “เงียบหน่อยนะลูก”
รูปภาพประกอบ : Pixabay
บ้านและสวน ไลฟ์สไตล์ของแม่บ้าน บ้านยุคใหม่ เลี้ยงลูก แม่และเด็ก